ประวัติการบรรจุพระพุทธศาสนา เข้าสู่รัฐธรรมนูญ ประเทศอิตาลี

Last updated: 5 ส.ค. 2559  | 

ประวัติการบรรจุพระพุทธศาสนา เข้าสู่รัฐธรรมนูญ ประเทศอิตาลี

ประวัติการบรรจุพระพุทธศาสนา เข้าสู่รัฐธรรมนูญ ประเทศอิตาลี


ประชาชนที่อยู่ในประเทศอิตาลีเรียกว่า ชาวอิตาเลียน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยโรมันโบราณ จำนวนประชากรของประเทศอิตาลี  มีประมาณ 60 ล้านคน โดยประมาณ 2.5 ล้านคน อาศัยอยู่ในกรุงโรม และอีก 1.5 ล้านคนอยู่ในมิลาน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์  นิกายโรมันคาทอลิก มีภาษาราชการคือ ภาษาอิตาลี  และบางพื้นที่ในประเทศเยอรมนี   และฝรั่งเศสก็พูดด้วย  แต่จะเป็นภาษาซิซิเลียน และภาษาซาร์ดีเนียน  ซึ่งคล้ายกับภาษาอิตาลีแต่ต่างกันที่สำเนียงเท่านั้น

ประชากรส่วนใหญ่ในอิตาลี  มีเชื้อชาติอิตาลีถึง  94.2%  ของประชากรทั้งประเทศ  และอื่นๆอีก  เช่น      อัลบาเนีย  ยูเครน  โรมาเนีย 1.94 %  แอฟริกัน 1.34%  เอเชีย 0.92% อเมริกาใต้ 0.46% และอื่นๆ 1.14% ประเทศอิตาลีมีสถานที่ที่เป็นแหล่งมรดกโลก อยู่มากกว่าประเทศอื่นในโลก ซึ่งมีทั้งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมากประมาณ  60% ของงานจิตรกรรมทั้งหมด  ในโลกสรรค์สร้างขึ้นในประเทศอิตาลี  และประเทศนี้ยังผลิตไวน์  ที่มากกว่าประเทศอื่นอีกด้วย

ราวสิบกว่าปีมาแล้ว  สื่อมวลชนในยุโรปได้แถลงกันยกใหญ่ว่า  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จะเติบโตเร็วที่สุดในสมัยศตวรรษที่  21 เพราะเห็นว่ากระแสผู้นับถือเติบโตเร็วมากทั้งในทวีปยุโรป, ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ ไม่ว่าฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, อังกฤษ, สเปน, ออสเตรเลีย ฯลฯ วัดวาอารามผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง    คนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง  ในการนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศฝรั่งเหล่านี้  แต่ไหนแต่ไรมา  ส่วนมากแล้วนับถือศาสนาคริสต์มาก่อน   และกระแสชาวคริสต์หันมานับถือพระพุทธศาสนานี้  ก็ก่อตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19

ประเทศยุโรปบางแห่ง  เช่น   อิตาลีได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ยกพระพุทธศาสนาให้เป็นหนึ่ง ในศาสนาสำคัญของชาติ   ไม่ต่างอะไรกับศาสนาคริสต์ซึ่งจากเดิมมีสถานภาพ  เป็นแค่เพียงลัทธิพุทธเท่านั้นตามกฎหมาย ซึ่งการรับบรรจุพระพุทธศาสนาไว้ในรัฐธรรมนูญประเทศอิตาลี เป็นผลงานอันเกิดขึ้นจากการทำงานประสานความร่วมมือ  ก่อกลุ่มชาวพุทธชื่อ I' Unione Buddhis  taItaliana. ระหว่างกลุ่มชาวพุทธต่างนิกาย มีวัดไทยฝ่ายเถระวาท วัดเซน ฝ่ายมหายาน วัดธิเบต  ฝ่ายวัชรยาน  เพื่อประสานงานขับเคลื่อนนำเสนอพระพุทธศาสนาเข้าสู่รัฐสภา ผ่านการลงมติ  จากสส. สว. รัฐมนตรี  จนมาถึงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ค.ศ. 2512 โดยนายก     รัฐมนตี Mario monti  ได้ลงนามเซ็น ผ่านเป็นร่างกฎหมาย  บรรจุในรัฐธรรมนูญประเทศอิตาลี พุทธศาสนามีสถานภาพเท่าเทียมกับคริสท์ศาสนาโรมันคาทอริก  นับเป็นเวลาร่วมทำงานยาวนานกว่า 20 ปี จึงสำเร็จผล  ถือได้ว่าเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาลง ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี  อย่างมั่นคงถาวรสืบต่อไปชั่วลูกหลานชั่วกาลนาน

 

 

สมเด็จพระสันตปาปา จอห์น ปอล ที่สองซึ่งเป็นประมุขของคริสตจักร นิกายโรมันคาทอลิกทรงมองเห็นกระแสดังกล่าว ครั้งได้ประทานสัมภาษณ์แก่วิตโดริโอ เมสซุรี่ นักเขียนและนักสื่อมวลชนที่มีชื่อของอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 2536 อันเป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองครบ 15 นับแต่ที่พระองค์ได้  ทรงรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสันตปาปา จึงทรงตั้งพระทัยวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาพระพุทธศาสนาอย่างตรงๆ ต่อมาบทประทานสัมภาษณ์ซึ่งมีหลายตอนนี้มาพิมพ์รวมเล่มในรูปหนังสือชื่อ Crossing  the Threshhold of Hope (London, Jonathan Cape, 1994) มีทั้งหมด 244 หน้า (รวมดรรชนีคำศัพท์)ตอนที่ทรงวิพากษ์วิจารณ์คำสอนพระพุทธเจ้า (ซึ่งทรงเข้าพระทัยผิดๆ อยู่มาก) อยู่ในบทที่ 12 มีทั้งหมด 7 หน้า (ตั้งแต่หน้า 84-90)

สาเหตุที่ทรงวิจารณ์พระพุทธศาสนา  มีกล่าวชัดในบทประทานสัมภาษณ์ กล่าวคือทรงต้อง การเตือนสติชาวคริสต์ทำนองว่า ไม่ควรด่วนเข้าไปนับถือคำสอนพระพุทธศาสนา แต่ควรใช้วิจารณญาณ (For this reason, it is not inappropriate to caution those Christians who enthusiastically welcome certain ideas originating in the religious traditions of the Far East, pp.89-90) ที่เป็นดังนี้ เพราะกระแสคนหันมานับถือพระพุทธศาสนา และช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างแข็งขันในยุโรป ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมักเป็นชาวคริสต์มาก่อน หลายคนเคยเป็นบาทหลวงระดับสูง  ต่อมาก็มีฝรั่งนักวิชาการชาวพุทธหลายคนทั้งพระ  ทั้งฆราวาส ซึ่งเคยเป็นชาวคริสต์มาก่อน ได้เขียนตอบโต้พระองค์ลงวารสารต่างๆมากมาย ที่โดดเด่นก็ คือ กลุ่มพระสงฆ์ชาวอิตาเลี่ยนในอิตาลี นำโดยพระฐานวโร  ได้เข้าเฝ้าเพื่อทูลชี้แจงให้สมเด็จพระสันตะปาปาทรงทราบด้วยซ้ำว่า  ทรงอธิบายพระพุทธศาสนาผิดๆ

ยุโรปตอนนี้ จึงเหมือนอินเดียครั้งพุทธกาล  ศาสนาเดิมที่ผู้คนนับถือคือศาสนาพราหมณ์  แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา  ก็มีผู้เคยนับถือศาสนาพราหมณ์มานับถือ และขวนขวายเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ ที่จริงแล้วพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงเดือดเนื้อร้อนพระทัยว่า ใครจะหันมานับถือศาสนาของพระองค์หรือไม่ ทรงสอนให้ผู้ฟังเทศน์ของพระองค์รู้จักไตร่ตรองหาเหตุผลให้รอบคอบก่อนถึงจะเชื่อ หลายคนที่หันมานับถือคำสอนของพระองค์เคยให้ความอุปถัมภ์ศาสนาอื่นมาก่อนก็มี พระองค์ก็ทรงแนะให้คนเหล่านี้ กลับไปคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ มิหนำซ้ำพระองค์ยังคงแนะให้บรรดาผู้หันมานับถือพระพุทธศาสนาเหล่านี้  ยังคงอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นๆที่ตนเคยนับถือตามปกติไปด้วย  แต่เดิม ศาสนาคริสต์ถูกลัทธิมาร์กซ์โจมตีอย่างรุนแรงมาร์กซ์ได้ประณามศาสนาว่า  คือยาเสพติด เพราะสอนให้ประชาชนศรัทธาแบบหัวปักหัวปำ  โดยไม่ใช้ปัญญาไตร่ตรอง หลายอย่างขัดแย้งหลักวิทยาศาสตร์ เช่น โลกแบน, โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ฯลฯ นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบความจริงใหม่ ๆ หลายคนถูกศาสนจักรลงโทษจนตายในคุก

แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่ยุโรป พระพุทธศาสนาได้สอนให้ปัญญาชนชาวยุโรปได้เข้าใจความหมายของ Religion เสียใหม่ว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคำสอน ซึ่งทรงสอนให้ผู้ฟังใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ ไม่ใช่เทวโองการ (Gospel) จากพระเจ้าซึ่งแย้งไม่ได้ พระสงฆ์หรือพุทธสาวกก็มิใช่มิชชันนารี  ซึ่งมีภารกิจหลักคือจาริกไปชี้ชวนให้ใครต่อใครมานับถือพระศาสนา พระสงฆ์หรือพุทธสาวกมีหน้าที่เพียงอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟังเท่านั้น  ใครไม่สนใจฟัง  ชาวพุทธก็ไม่เคยใช้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญบังคับให้นับถือ     ไม่เคยตั้งกองทุนให้การศึกษาฟรี  แล้วสร้างเงื่อนไขให้ผู้รับทุนเปลี่ยนมาเป็น  ชาวพุทธ  ไม่เคยสร้างที่พักอาศัยให้หรือแจกทานให้อาหารฟรีๆ  แล้ววางเงื่อนไขให้คนมาขออาศัยตนต้อง    หันมานับถือศาสนาในภาวะจำยอม

ขณะที่ศาสนาคริสต์ต้องใช้ความพยายาม อย่างหนักเพื่อดึงศรัทธาชาวยุโรปให้นับถือเหมือนเดิม ในเวลาเดียวกันก็พยายามแสวงหาผู้นับถือใหม่ๆ ในประเทศเอเชียให้มากยิ่งขึ้น การเผยแพร่หนังสือ “พลังชีวิต”ซึ่งจัดพิมพ์โดยมูลนิธิอาร์เธอร์เอส  เดอมอส  ในประเทศไทยคือหนึ่งในความพยายามดังกล่าวนี้  ความใจกว้างและมีหลักคำสอนที่เป็นสัจธรรม เชิญชวนให้มาพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติเองและเน้นให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนนับถือ ทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับจากวิญญูชนไปทั่วโลก นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ดัง ๆ ระดับโลกจำนวนมาก เช่น โซเพนฮาวเออร์, ไอน์สไตน์  ต่างหันมานับถือพระพุทธศาสนา  นับแต่พระพุทธศาสนาเข้ายุโรปสมัยศตวรรษที่ 19 ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงสถิติว่า  คนยุโรปและอเมริกาชาติต่างๆ หันมาเข้าวัดในพระพุทธศาสนามากขึ้นบ้าง ประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้นบ้าง  สถานปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งรวมทั้งวัดวาอารามเพิ่มขึ้นที่นั่นที่นี่ประจำบ้าง

เดือน ธันวาคม ที่ผ่านมาก็มีข่าวออกมาอีกว่า  ดาราฮอลลี้วูดอังกฤษ ชื่อ ออร์นันโด บลูม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้แสดงนำในหนังเรื่อง The Lord of the Rings ได้ทำพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ  ต่อหน้าสาธารณชนอย่างเป็นทางการไปเรียบร้อยแล้ว  ระหว่างทหารอเมริกันพยายามไล่บี้ทหารอิรักอย่างเมามัน  ตามคำสั่งของประธานาธิบดีบุชไม่นานมานี้  ทหารอเมริกันคนหนึ่งนามว่า  เจเรมี่  ฮินซ์แมน  วัย 26 ปี  ได้ตัดสินใจหนีทัพอเมริกาในอิรักไปปักหลักลี้ภัยในแคนาดา เขาให้เหตุผลว่าสงครามที่อเมริกาทำกับชาวอิรักเป็นสงครามผิดกฎหมาย ประเด็นที่น่าสนใจก็คือเขาเป็นชาวพุทธที่สนใจปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง  เขาให้สัมภาษณ์ว่า คำสอนพระพุทธศาสนาสอนให้เขาไม่อยากทำสงคราม เขาตั้งปฏิญาณว่าจะรับใช้ชาติ  หรือพิทักษ์ชาติจากการรุกรานของข้าศึกศัตรู   แต่มิใช่ไปทำสงครามแบบก้าวร้าวต่อชาติอื่น  ดังที่ทหารอเมริกันกำลังทำอยู่ในอิรักเวลานี้


ศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในอิตาลีนับถือคือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวอิตาลีถึง 87.8%     เป็นโรมันคาทอลิกโดยพฤตินัย  แม้ว่ามีเพียงประมาณหนึ่งในสามที่มีเหตุผล  ในการเลือกนับถือศาสนาคริสต์ (36.8%) ส่วนนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์  มีผู้นับถือมากกว่า 700,000 คน ประกอบด้วยกรีกออร์ทอดอกซ์180,000  คนและอีก 550,000 คนนับถือเพนเทคอส-ตัล และอิแวนจิลิคัล (0.8%) ส่วนสมาชิกของอะเซมบลีส์  ออฟกอด  มีประมาณ 400,000 คน  กลุ่มพยานพระยะโฮวา 235,685 คน (0.4%)  นิกายวัลเดนเชียน 30,000 คน เซเวนธ์-เดย์แอดเวนทิสต์ มีประมาณ 22,000 คน นิกายมอรมอน 22,000 คน แบปทิสต์ 15,000 คน    ลูเทอแรน 7,000 คน และ     เมทอดิสต์ 4,000 คน

ส่วนศาสนิกชนกลุ่มน้อยที่เก่าแก่ที่สุดคือ  ศาสนายูดาห์มีคนนับถือ 45,000 คน  ประเทศอิตาลีมีกลุ่มศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์ เข้ามาเผยแพร่ไม่ค่อยมากนัก  เช่นการอพยพเข้ามาของประชากรจากส่วนอื่นๆ  ของโลก เป็นผลทำให้อิตาลีมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ  825,000 คน  (1.4% ของประชากรทั้งประเทศ) แต่เป็นพลเมืองอิตาลีเพียง 50,000 คน  นอกจากนี้ อิตาลีมีชาวพุทธ 80,000

คนโดยที่ศาสนาพุทธ รัฐบาลอิตาลี ได้รับรองสถานะของสมาคมชาวพุทธในอิตาลี เมื่อ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และมีวัดไทยสำคัญคือ วัดสันตจิตตาราม อยู่ห่างจากกรุงโรม 52 กิโลเมตรซิกข์ 70,000 คน และ ชาวฮินดู 70,000 คน ฯ



ดาวน์โหลดไฟล์ ที่นี่


---------------------------------------------------

 


เขียนโดย: พระครูสันติธรรมวิเทศ รองเจ้าอาวาสวัดสันตจิตตาราม ประเทศอิตาลี

เรียบเรียงโดย: สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้