Last updated: 6 ส.ค. 2559 |
เมืองพุทธแท้ !!! ติดอันดับ 1 ! ประเทศที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุดในโลก
มูลนิธิการช่วยเหลือเพื่อการกุศล (ซีเอเอฟ) เปิดเผยดัชนีการให้ประจำปี 2015 ซึ่งสะท้อนภาพความมีมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของผู้คนจากทั่วโลก ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ดัชนีดังกล่าววัดจากสัดส่วนคนที่บริจาคเงิน ทำงานอาสา หรือช่วยเหลือคนแปลกหน้า ใน 145 ประเทศทั่วโลก (ประมาณ 96 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก) มาดูกันว่าประชากรประเทศใด มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุด 20 อับดับแรก
อันดับที่ 1. ประเทศเมียนมาร์ แม้จะมีความวุ่นวายทางการเมืองและ เมียนมาร์ยังถือว่าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่ แต่ก็ยังรั้งอันดับ 1 ในบรรดาประเทศที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุด (เดิมเป็นการครองอันดับร่วมกับสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว) ผลมาจากการบริจาคเงินจำนวนมาก (92 เปอร์เซ็นต์บริจาคเป็นเงินสด) และอัตราการเป็นอาสาสมัครของประชากรเมียนมาร์ (ครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด) อันที่จริง ชาวเมียนมาร์เป็นอาสาสมัครเกือบเท่าชาวบราซิลเลยทีเดียว แม้ว่าจำนวนประชากรมีเพียง 1 ใน 4 ของบราซิลเท่านั้น
เหตุผลที่ประเทศเมียร์มาร์ติดอันดับ 2 ปีซ้อน
1. เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากถึง 92.3% และพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติพม่าทำให้รัฐให้การส่งเสริมสนับสนุนการสอนและปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
2. อัธยาศัยชาวพม่าจะเคร่งครัดในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก ดังจะเห็นได้จากวิถีชีวิตของชาวพม่า ที่ชอบไปวัด นั่งสมาธิ(Meditation) เลื่อมใสและเข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม แต่ไม่เชื่องมงายในเรื่องไสยศาสตร์ นิยมถือศีลแปด ทุกวันเกิด คือ ถ้าเกิดวันจันทร์ก็จะงดอาหารเย็นทุกวันจันทร์ ถ้าในวันพระก็จะถืออุโบสถศีลอีกทั้งยังนิยมสร้างพระพุทธรูป สร้างพระเจดีย์และสร้างวัดขนาดใหญ่ ทั้งประเทศมีวัดจำนวนทั้งสิ้นกว่า 45,000วัด และมีจำนวนพระภิกษุ สามเณร ทั้งประเทศจำนวนกว่า 5แสนรูปอีกด้วย
มาดูกันว่าประชากรประเทศใด มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุด 20 อับดับแรก....
20) ประเทศเยอรมนี
ปีนี้เยอรมนีกลับมาติดอับดับท็อป 20 อีกครั้ง หลังจากตกอันดับตกไปในปีก่อน ผลจากการปรับตัวดีขึ้นทั้ง 3 ปัจจัยที่ ซีเอเอฟ นำมาประมวลผล
19) ประเทศไทย
ซึ่งกลับมาติดอันดับท็อป 20 อีกครั้ง ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ผู้คนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุดในด้านการบริจาคเงิน โดยอยู่ที่อันดับ 2 (87 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งอาจเป็นเพราะคนไทย ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธถึง 94 เปอร์เซ็นต์ แต่ในด้านการช่วยเหลือคนแปลกหน้าอยู่ที่อันดับ 90 และการทำงานอาสาอยู่ที่อันดับ 98
18) ประเทศคีร์กิซสถาน
ประเทศคีร์กิซสถานแสดงให้เห็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด โดยพุ่งขึ้น 65 อันดับ มาติดท็อป 20 เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ต้องหมายเหตุไว้ด้วยว่า ประชากร 75 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ เป็นมุสลิม และการสำรวจจัดทำขึ้นหลังเดือนรอมฎอน ซึ่งผู้คนมีแนวโน้มว่าพร้อมจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้เพื่อนมนุษย์ ทั้งเรื่องเวลาและเงินทอง
17) ประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏานเคยติดอยู่ท็อป 10 ในปีที่แล้ว แต่ถึงแม้อับดับจะตกลงมาก็ยังคงอยู่ในท็อป 20 โดยภูฏานก็มีอันดับการช่วยเหลือคนแปลกหน้าที่ 58, การบริจาคเงินอยู่ที่อับดับ 22 และ อาสาสมัครอยู่ที่อันดับ 13 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธเช่นเดียวกับประเทศไทย
16) ประเทศกัวเตมาลา
ประเทศกัวเตมาลาติดอันดับท็อป 20 ปีแรกเช่นเดียวกับคีร์กิซสถาน โดยประเทศในอเมริกากลางประเทศนี้มีอันดับการเป็นอาสาสมัครและการช่วยเหลือคนแปลกหน้าสูงมาก (อันดับ 10 และ 17 ตามลำดับ) แต่เปอร์เซ็นต์การบริจาคเงินยังคงห่างไกล อยู่ที่อันดับ 48
15) ประเทศนอร์เวย์
นอร์เวย์กลับมาติดอันดับท็อป 20 อีกครั้ง (ตกสำรวจไปจากรายงานปี 2014) ด้วยการทำคะแนนด้านการบริจาคเงินดีเยี่ยมที่อันดับ 14 ส่วนการเป็นอาสาสมัครและช่วยเหลือคนแปลกหน้า อยู่ในอับดับที่ 32 และ 45 ตามลำดับ
14) ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เป็นครั้งแรกเช่นกันที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เข้ามาติดอันดับท็อป 20 ถึงแม้ว่าจะตกสำรวจจากรายงานปี 2014 ประเทศตะวันออกกลางประเทศนี้ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาด้านการให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือคนแปลกหน้าและการบริจาคเงิน อยู่ที่ 15 เท่ากัน แต่อัตราการเป็นอาสาสมัครอยู่ที่อับดับ 60
13) ประเทศบาห์เรน
บาห์เรนก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ติดอยู่ในอันดับท็อป 20 เป็นครั้งแรกและเป็น 1 ใน 8 ประเทศเอเชียที่ติดอันดับท็อป 20 ในปีนี้ โดยครองอันดับ 4 ของประเทศที่มีการพัฒนาด้านความเอื้อเฟื้อมากที่สุด และพลาดท็อป 10 เพียงแค่เรื่องการช่วยเหลือคนแปลกหน้าเท่านั้น (อยู่ที่อันดับ 11)
12) ประเทศมอลตา
ถึงแม้ว่าประเทศเล็ก ๆ แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนประเทศนี้จะมีอันดับการช่วยเหลือคนแปลกหน้า และ อาสาสมัครอยู่ที่ 73 และ 46 ตามลำดับ แต่ประชากรของมอลตาก็สร้างความประทับใจด้วยการบริจาคเงินเพื่อการกุศลจำนวนมากถึง 78 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่อันดับ 3
11) ประเทศเคนยา
เคนยาเป็นประเทศแอฟริกาประเทศเดียวที่ติดในอับดับท็อป 20 ในปี 2015 และยังเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเรื่องของความเอื้อเฟื้อมากที่สุดของตารางอีกด้วย โดยเปอร์เซ็นต์การช่วยเหลือคนแปลกหน้าของประเทศเคนยาเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี นับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจในปี 2008 และปัจจุบันอัตราการเป็นอาสาสมัครของประชาชนเคนยาอยู่ที่อันดับ 8
10) ประเทศมาเลเซีย
มาเลเซียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเรื่องของความเอื้อเฟื้อมากที่สุด เคียงข้างกับประเทศเคนยาเลยที่เดียว ถึงแม้ว่าจะตกจากท็อป 10 แต่ก็ยังมีการบริจาคเงินและอาสาสมัครอยู่ที่อันดับ 17 เท่ากัน ส่วนการช่วยเหลือคนแปลกหน้าอยู่ที่อับดับ 27
9) ประเทศไอร์แลนด์
1 ใน 6 ประเทศยุโรปในอันดับท็อป 20 โดยหล่นจากอันดับ 4 มาอยู่ที่อันดับ 9 ถึงแม้ว่าชาวไอริชจะมีเปอร์เซ็นต์การบริจาคสูงถึง 67 เปอร์เซ็นต์ แต่อัตราการบริจาคของคนในประเทศโดยรวมตกลง 7 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีอัตราการเป็นอาสาสมัครของประชากรตกจากอับดับ 10 มาอยู่ที่ 11 ด้ว
8) ประเทศศรีลังกา
ถึงแม้ว่าศรีลังกาจะมีอันดับการช่วยเหลือคนแปลกหน้าอยู่ที่ 33 และอันดับการบริจาคเงินอยู่ที่ 16 แต่ประชากรของประเทศเกือบครึ่ง (48 เปอร์เซ็นต์) ยอมสละเวลาส่วนตัวมาช่วยเหลือคนอื่น ๆ ส่งผลให้คว้าอันดับ 2 ไปครองในด้านอาสาสมัคร
7) ประเทศเนเธอร์แลนด์
ในที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็กลับมาอยู่ในท็อป 10 อีกครั้ง หลังจากที่ตกไปในปีที่แล้ว อัตราการช่วยเหลือคนแปลกหน้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 41 การเป็นอาสาสมัครอยู่ที่ 18 และประชากรของประเทศ 73 เปอร์เซ็นต์ชอบบริจาคเงินช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อยู่ที่อันดับ 5
6) สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรมีอันดับการเป็นอาสาสมัครของประชากรอยู่ที่ 28 ช่วยเหลือคนแปลกหน้าอยู่ที่ 25 และอันดับการบริจาคเงินอยู่ที่ 4 โดยประชากร 3 ใน 4 ของประเทศยินดีบริจาคเงิน อันดับโดยรวมขยับขึ้นมา 1 อันดับ เนื่องด้วยอัตราการเป็นอาสาสมัครเพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์
5) ประเทศออสเตรเลีย
ออสเตรเลียขยับขึ้นปีที่แล้ว 1 อันดับ เนื่องจากประชากรมีอัตราการบริจาคเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ผลจะออกมาสูงถึง 72 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด รั้งอันดับ 7 ด้านการบริจาค ส่วนการเป็นอาสาสมัครอยู่ที่อันดับ 12 (40 เปอร์เซ็นต์) มีเพียงการช่วยเหลือคนแปลกหน้าที่หลุดจากท็อป 20 ไปอยู่ที่อันดับ 21
4) ประเทศแคนาดา
ถึงแม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศแคนาดาจะบริจาคเงินเพื่อการกุศลน้อยลง ส่งผลให้คะแนนด้านการบริจาคลดลงด้วย แต่แคนาดาก็ยังคงรั้งอยู่ในอันดับท็อป 10 ได้แบบสบายๆ ชาวแคนาดาโดดเด่นเรื่องของการช่วยเหลือคนแปลกหน้า ซึ่งอยู่ที่อันดับ 14 และการบริจาคเงินอยู่ที่อันดับ 10 แต่สิ่งที่ชาวแคนาดาทำให้ดีเยี่ยมที่สุดคือการเป็นอาสาสมัคร ซึ่งคิดเป็น 44 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทำให้ประเทศแคนาดารั้งอันดับ 5 ในด้านนี้
3) ประเทศนิวซีแลนด์
ด้วยจำนวนการบริจาคเงินของชาวนิวซีแลนด์ ทำให้ประเทศนี้มีอันดับพุ่งพรวดขึ้นมา และเป็นประเทศน้องใหม่เพียงประเทศเดียวที่ติดอยู่ในอันดับท็อป 10 ด้านการบริจาค ชาวกีวีขึ้นชื่อเรื่องของการเป็นอาสาสมัคร ทำให้ก้าวขึ้นมาติดอันดับ 4 ของตาราง และถือว่าสูงที่สุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนั้น นิวซีแลนด์ยังทำได้ดีในด้านการช่วยเหลือคนแปลกหน้า (อันดับ 22) อีกด้วย
2) สหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาเคยเป็นอันดับ 1 เมื่อปีที่แล้ว แต่ต้องร่วงลงมาอยู่อันดับ 2 เพราะว่าการบริจาคเงินลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ การเป็นอาสาสมัครของชาวอเมริกัน ทำให้ประเทศนี้อยู่ที่อันดับ 6 แต่จริง ๆ แล้วชาวอเมริกันทำได้ดีกว่าในด้านการช่วยเหลือคนแปลกหน้า ซึ่งรั้งอันดับ 3 ตามหลังเพียงแค่ประเทศไลบีเรียและอิรักเท่านั้น โดยหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์พบว่า ประชากรจำนวน 76 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดนั้นชอบช่วยเหลือผู้อื่น
1) ประเทศเมียนมาร์
แม้จะมีความวุ่นวายทางการเมืองและเมียนมาร์ยังถือว่าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่ แต่ก็ยังรั้งอันดับ 1 ในบรรดาประเทศที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุด (เดิมเป็นการครองอันดับร่วมกับสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว) ผลมาจากการบริจาคเงินจำนวนมาก (92 เปอร์เซ็นต์บริจาคเป็นเงินสด) และอัตราการเป็นอาสาสมัครของประชากรเมียนมาร์ (ครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด) อันที่จริง ชาวเมียนมาร์เป็นอาสาสมัครเกือบเท่าชาวบราซิลเลยทีเดียว แม้ว่าจำนวนประชากรมีเพียง 1 ใน 4 ของบราซิลเท่านั้น
นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศเมียนมาร์ครองอันดับ 1 ถึง 2 ด้านจากทั้งหมด 3 ด้าน โดยชาวเมียนมาร์ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศนี้มีอันดับการให้ทานด้านต่าง ๆ สูงที่สุด ประชากรประมาณ 89 เปอร์เซ็นต์ปฏิบัติตามหลักศาสนาและให้ทานน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง และประเทศเมียนมาร์ถือว่าเป็นประเทศที่มีพระสงฆ์มากที่สุด หากเทียบประเทศพุทธศาสนาด้วยกัน
--------------------------------------------------------
เรียบเรียงใหม่โดย: สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ
ข้อมูล/ที่มา: http://a.msn.com/00/th-th/BBpkFbE?ocid=se
http://www.winnews.tv/news/6157